จากเงินกระดาษ……สู่เงินบาทดิจิทัล

จากเงินกระดาษ……สู่เงินบาทดิจิทัล

พ.ย. 8, 2021 | ข่าว

รู้ไหมว่า 4 ปีที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความเป็นไปได้ของการใช้ “Central Bank Digital Currency” หรือสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง ในภาคสถาบันการเงิน จนเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ประกาศโครงสร้างของ “เงินบาทดิจิทัล” สำหรับให้ประชาชนและภาคธุรกิจ โดยจะเริ่มทดสอบให้ใช้งานจริง ภายในช่วงกลางของปี 2022

เงินบาทดิจิทัล เป็น Central Bank Digital Currency เรียกสั้น ๆ ว่า CBDC หรือก็คือสกุลเงินที่ออกและควบคุมโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งพัฒนาอยู่บนเทคโนโลยีบล็อกเชน สำหรับเงินบาทดิจิทัลนั้น จะมีลักษณะคล้ายกับ Stablecoin คือมูลค่าจะถูกหนุนหลังด้วยเงินบาทในอัตราส่วน 1:1นั่นหมายความว่าทุก ๆ การออกเงิน 100 บาทดิจิทัล ก็จะต้องมี 100 บาทเก็บสำรองเอาไว้ในบัญชีธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่เสมอโดยเงินบาทดิจิทัล ถูกออกแบบมาเพื่อให้เรานำไปจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน ไม่ต่างอะไรจากเงินสด การโอนผ่าน Moblie Banking หรือเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่เราใช้บนแอปพลิเคชันต่าง ๆ หากใครต้องการเงินบาทดิจิทัล เพียงแค่เรานำเงินสดหรือเงินฝากไปแลกกับสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการทางการเงินที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย

หลังจากนั้น เราจะสามารถเลือกเก็บเงินบาทดิจิทัล ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. แอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน ที่ทางธนาคารหรือผู้ให้บริการทางการเงินที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้ดูแลลักษณะไม่แตกต่างอะไรไปจากแอปพลิเคชันการเงินที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น แอปธนาคารหรือแอปกระเป๋าเงินดิจิทัล
  2. สมาร์ตการ์ด เป็นทางเลือกสำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีสมาร์ตโฟน อินเทอร์เน็ต หรือบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน

หลายคนก็คงกำลังสงสัยว่า แล้วเงินบาทดิจิทัล มันต่างจากการที่เราใช้พร้อมเพย์ Moblie Banking หรือเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่างไร? หากดูในมุมมองของผู้ใช้งานอย่างเราช่วงแรกจะพบว่าไม่มีความแตกต่างกันเพราะมันก็นับเป็นการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านสมาร์ตโฟน

แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมา ก็คือเรื่องของความปลอดภัยที่จะมีมากกว่า เพราะบาทดิจิทัลจะได้รับการคุ้มครองจากธนาคารแห่งประเทศไทย และธุรกรรมต่าง ๆ ก็จะอยู่บนบล็อกเชน ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลเหล่านี้ยากที่จะโดนแก้ไขได้แต่สำหรับอนาคตข้างหน้า เงินบาทดิจิทัลจะถูกพัฒนาและก็จะเริ่มมีความแตกต่างมากขึ้น เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้เปิดโอกาสให้เหล่านักพัฒนาโปรแกรม สามารถเข้ามาสร้างนวัตกรรมต่อยอดบนเงินบาทดิจิทัลได้อีกชั้น

ตัวอย่างนวัตกรรม ก็เช่น การสั่งสินค้าออนไลน์ ที่สามารถตั้งเงื่อนไข ให้ยังไม่มีการจ่ายเงินออกไปจนกว่าสินค้าจะมาถึงมือเรา หรือหากเป็นภาครัฐ ก็จะสามารถกำหนดให้เงินที่แจกจ่ายแก่ประชาชนนั้น สามารถซื้อสินค้าหรือบริการใดได้บ้าง พูดง่าย ๆ ก็คือเราสามารถ “สร้างเงื่อนไข” ที่ผูกกับการชำระเงินด้วยบาทดิจิทัลได้ อย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยังคงไม่มีนโยบายให้นำเงินบาทดิจิทัลไปเชื่อมต่อกับ DeFi หรือระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง

และถ้าหากว่าเรามาดูในด้านผู้กำหนดนโยบาย ก็จะพบว่าเงินบาทดิจิทัล มีแนวโน้มที่จะเข้ามาทำให้ผู้กำหนดนโยบายมีความคล่องตัวมากขึ้น เช่น การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็จะสามารถร่วมมือกับรัฐบาลในการอัดฉีดเงินไปสู่ประชาชนได้ทันที

ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ได้ศึกษาความเป็นไปได้ของ “Retail CBDC” เช่น การให้ธนาคารกลางจ่ายดอกเบี้ยในระดับที่เหมาะสมให้กับผู้ฝากด้วยตนเอง นั่นหมายความว่าธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะเริ่มเข้ามาเชื่อมต่อกับประชาชนโดยตรง แทนที่รูปแบบเดิมจะเป็นธนาคารพาณิชย์ซึ่งที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกมองว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายผ่านดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ถ้าธนาคารกลางมีบทบาทโดยตรง ก็อาจทำให้การขับเคลื่อนนโยบายการเงินจากภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ต้องบอกก่อนว่า บาทดิจิทัล ที่กำลังจะทดลองใช้ในปีหน้า ยังไม่ได้เป็นแบบนั้น

บาทดิจิทัล มีรูปแบบและคุณสมบัติเบื้องต้น อะไรบ้าง ?

  1. บาทดิจิทัลจะมีลักษณะคล้ายเงินสด คือ ไม่มีการให้ดอกเบี้ย ซึ่งการที่เงินบาทดิจิทัลไม่มีดอกเบี้ย ก็จะยังทำให้เราไม่ได้มองว่ามันเป็นทางเลือกการฝากเงิน ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงมีแนวโน้มที่จะยังคงฝากเงินไว้กับเหล่าธนาคารพาณิชย์เช่นเดิมและก็น่าจะทำให้เงินบาทดิจิทัลจะถูกนำไปจับจ่ายใช้สอยจริงทั้งบนโลกออนไลน์ ออฟไลน์ และสามารถนำไปใช้ได้บนทุกแพลตฟอร์ม ซึ่งต่างจากระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน ที่อาจใช้ได้เฉพาะเครือข่ายที่รับชำระ เช่น ระบบของ Rabbit LINE Pay หรือ TrueMoney ก็ตาม
  2. ดำเนินการกระจายเหรียญผ่านตัวกลาง เช่น สถาบันการเงิน หรือผู้ให้บริการทางการเงินอื่นเพื่อยังคงรักษาบทบาทของเหล่าตัวกลางทางการเงิน และให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการใช้บริการ เพราะตัวกลางทางการเงินเหล่านี้มีความชำนาญและคุ้นเคยในการทำ KYC (Know Your Customer) อยู่แล้ว
  3. จำกัดปริมาณการถือหรือการไถ่ถอน เพื่อป้องกันการถอนเงินจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ที่อาจทำให้ธนาคารพาณิชย์ขาดสภาพคล่อง โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติ รวมทั้งป้องกันการฟอกเงิน
  4. ไม่สร้างภาระต้นทุนค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ใช้งานและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึง เพื่อต่อยอดนวัตกรรมหรือเขียนโปรแกรมเพิ่มบนบาทดิจิทัล
  5. ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีแบบรวมศูนย์ (Centralized) และกระจายศูนย์ (Decentralized) ส่งผลให้ประชาชนได้ใช้สื่อการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และปลอดภัยมากขึ้นอีกด้วย

ถึงตรงนี้เราก็สามารถสรุปได้ว่า “เงินบาทดิจิทัล” ที่กำลังจะทดลองใช้จริงในปีหน้านี้ก็น่าจะกลายมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเรา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า