ทฤษฏีสีแสง แม่สีบวก (Additive color) หรือแม่สีวิทยาศาสตร์มี 3 สี คือ
- สีแดง (Red)
- สีเขียว (Green)
- สีน้ำเงิน (Blue)
- แสงสีแดง (Red) ผสมแสงสีเขียว (Green) จะได้สีเหลือง (Yellow)
- แสงสีเขียว (Green) ผสมแสงสีน้ำเงิน (Blue) จะได้สีน้ำเงินแกมเขียว (Cyan)
- แสงสีแดง (Red) ผสมแสงสีน้ำเงิน (Blue) จะได้สีแดงแกมม่วง (Magenta)
- เมื่อนำแสงหรือแม่สีทั้งสามสีมาผสมกันเข้าจะได้แสงสีขาว
การวัดสี (Color Measuring)
อุปกรณ์วัดสีที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ Spectrophotometer อุปกรณ์ดังกล่าวจะใช้แสงจากแหล่งประดิษฐ์ (illuminant) คือแสงที่แต่งค่าความเข้มแสง (intensity) หรืออุณหภูมิของสี (Color temperature) แล้ว ตัวอย่างของแหล่งแสงประดิษฐ์ได้แก่ D65 – แสงเที่ยงวัน (non daylight) CWF-แสงขาวเย็นจากหลอดฟลูออเรสเซ้น (cooled white fluorescent) อุปกรณ์วัดสีในห้องตลาดมีหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ โดยระบบที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คือระบบ L* a b ซึ่งเป็นระบบการบรรยายสีแบบ 3 มิติ โดยที่
แกน L* บ่งบอกถึงความสว่าง (lightness) มีค่าตั้งแต่ 0-100 โดย 0 คือ สีดำ และ 100 คือ สีขาว
แกน a* บรรยายแกนสี จากสีเขียว –a* จนถึงสีแดง +a*
แกน b* บรรยายแกนสี จากน้ำเงิน –b* จนถึงสีเหลือง +b*
ในส่วนของค่าความแตกต่างของสีนั้นทาง CIE ได้กำหนดสัญลักษณ์ ∆E โดยมีสมการดังต่อไปนี้
โดยที่ หมายเลข 1 คือสีทดสอบที่1 หมายเลข 2 คือสีทดสอบที่ 2
ยกตัวอย่างเช่น สีทดสอบที่ 1 อ่านค่าจาก Colorimeter ได้ L*=50 a=50 b=50
สีทดสอบที่ 2 อ่านค่าจาก Colorimeter ได้ L*=52 a=51 b=52
เมื่อนำเข้าสมการจะได้
จะได้ = 3 เป็นต้น